วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมกลางแจ้ง




กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก กิจกรรมกลางแจ้งที่ครูสอนควรจัดให้เด็กให้เล่น ฯลฯ
5.1 การเล่นเครื่องเล่นสนาม
เครื่องเล่นสนาม  หมายถึง เครื่องเล่นที่เด็กได้ปีนป่าย หมุน โยก ซึ้งนำออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น
5.1 เครื่องเล่นสำหรับปีนป่าย หรือตาข่ายสำหรับปีน
5.2 เครื่องเล่นสำหรับโยกหรือไกว เช่น ม้าไม้ ชิงช้า ม้านั่งโยก ไม้กระดาน
5.3 เครื่องเล่นสำหรับหมุน เช่น ม้าหมุน พวงมาลัย สำหรับหมุนเล่น
5.4 ราวโหนขนาดเล็กสำหรับเด็ก
5.5 ต้นไม้สำหรับเดินทรงตัว หรือไม้กระดานแผ่นเดียว
5.6 เครื่องเล่นประเภทล้อเลื่อน เช่น รถสามล้อ รถลากจูง ฯลฯ

5.2 การเล่นทราย
ทรายเป็นสิ่งที่เด็กๆชอบเล่น ทั้งทรายแห้งทรายเปียก นำมาก่อเป็นรูปต่างๆ และสามารถนำวัสดุอื่นๆ มาประกอบการเล่นการแต่งได้ เช่น กิ่งไม้  ดอกไม้ เปลือกหอย พิมพ์ต่างๆ ที่ตักทราย ฯลฯ
บ่อทรายจะอยู่กลางแจ้ง โดยอาจจัดให้อยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้หรือสร้างหลังคาทำขอบบ้าน เพื่อมิให้กระจัดกระจาย บางโอกาสอาจพรมน้ำให้ชื้อเพื่อให้เด็กได้ก่อเล่นนอกจากนี้ควรมีวิธีปิดกั้นไม่ให้สัตว์เลี้ยงลงไปทำความสกปรกภายในบ่อทราย

5.3 การเล่นน้ำ
เด็กทั่วไปชอบเล่นน้ำมาก การเล่นน้ำนอกจากสร้างความพอใจและคลายความเครียดให้กับเด็กและยังแล้วยังให้เด็กเกิดการเรียนรู้อีกด้วย เช่นเรียนรู้ทักษะการสังเกต จำแนกเปรียบเทียบ ปริมาตร ฯลฯ
อุปกรณ์ที่ใช้น้ำอาจเป็นถังที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะหรืออ่านน้ำวางขาตั้งที่มั่นคง ความสูงที่เด็กยืนได้พอดี และควรมีผ้าพลาสติกกันเสื้อผ้าเปียกให้เด็กใช้คลุมระหว่างเล่น






5.4 การเล่นสมมติในบ้านตุ๊กตาจำลอง
เป็นบ้านจำลองให้เด็กเล่น จำลองแบบจากบ้านจริงๆ อาจทำด้วยเศษวัสดุประเภทผ้าใบ กระสอบป่าน ของที่ไม่ใช้แล้ว เช่น หม้อ เตา ชาม อ่าง เตารีด เครื่องครัว ตุ๊กตาสมมติเป็นบุคคลในครอบครัวเสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ใช้แล้วมีการตกแต่งบริเวณใกล้เคียงให้เหมือนบ้านจริงๆ บางครั้งอาจจัดเป็นร้านขายของ สถานที่ทำการต่างๆ เพื่อให้เด็กเล่นสมมติตามจินตนาการของเด็กเอง

5.5 การเล่นในมุมช่างไม้
เด็กต้องการออกกำลังในการเคาะ ตอก กิจกรรมในการเล่นในมุมช่างไม้นี้จะช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง จะช่วยในการฝึกใช้มือและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา นอกจากนี้ยังฝึกให้รักงาน และส่งเสริมให้รักงาน และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย

5.6 การเล่นอุปกรณ์การกีฬา
เป็นการนำอุปกรณ์มาให้เด็กเล่นอย่างอิสระหรือใช้ประกอบเกมการเล่นที่ให้อิสระแก่เด็กให้มากที่สุดไม่ควรแน่นการแข่งขันที่เน้น แพ้ ชนะ อุปกรณ์ที่นำมาให้เด็กเล่น เช่น ลูกบอล ห่วงยาง ฯลฯ

5.7 การเล่นเกมการละเล่น
กิจกรรมการเล่นเกมกิจกรรมที่จัดให้เด็กเล่น เช่นการละเล่นของไทย เกมการละเล่นท้องถิ่น เช่น มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร แม่งู โพงพาง ฯลฯ การละเล่นเหล่านี้ต้องใช้บริเวณที่กว้าง การเล่นอาจเล่นเป็นกลุ่มเล็ก/กลุ่มใหญ่ก็ได้ก่อนเล่นผู้สอนอธิบายกติกา และสาธิตให้เด็กเข้าใจไม่ควรนำเกมการละเล่นที่มีกติกายุ่งยาก และเน้นการแข่งขันแพ้ชนะ มาจัดกิจกรรมให้กับเด็กวัยนี้เพราะเด็กอาจเกิดความเครียดและสร้างความรู้สึกไม่ดีต่อตนเอง และผู้อื่นด้วย

1.      หมั่นตรวจตราเครื่องเล่นสนาม และอุปกรณ์ประกอบให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและการใช้ให้ดีอยู่เสมอ
2.      ให้โอกาสให้เด็กเล่นกลางแจ้งอย่างอิสระทุกวัน อย่างน้อย 30 นาที
3.      ขณะเล่นกลางแจ้ง ผู้สอนดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวังความปลอดภัยในการเล่น หากพบว่าเด็กแสดงอาการเหนื่อย อ่อนหล้า ควรให้เด็กหยุดพัก
4.      ไม่ควรนำกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กประถมศึกษาใช้สอนกับเด็กปฐมวัยเพราะยังไม่เหมาะสมกับวัย
5.      หลังจากเลิกกิจกรรมกลางแจ้งควรให้เด็กไปพักผ่อนหรือนั่งพัก ไม่ควรให้เด็กนั่งรับประทานอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น