วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  
กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ

การเคลื่อนไหวจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลงคำคล้องจองการปฏิบัติตามสัญญาณ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือเสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก ตีฉิ่ง กลอง ระนาด ฯลฯ มาประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิกสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาใช้ส่วนต่างๆ ร่างกายยังคงมาผสมผสาน หรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์มากนัก การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กอาจยังดูไม่มั่นคง
การเคลื่อนไหวมีลักษณะดังนี้
1.       ช้า ได้แก่  การคืบ คลาน
2.       เร็ว ได้แก่  การวิ่ง
3.       นุ่มนวล  ได้แก่  การไหว้  การบิน
4.       ขึงขัง   ได้แก่  การกระทืบเท้าดังๆ  ตีกลองดังๆ
5.       ร่าเริงมีความสุข  ได้แก่  การตบมือ  การหัวเราะ
6.       เศร้าโศกเสียใจ  ได้แก่  สีหน้า  ท่าทาง
ฯลฯ

ทิศทางการเคลื่อนไหว
1.       เคลื่อนไหวไปข้างหน้า  และข้างหลัง
2.       เคลื่อนไหวไปข้างซ้าย และข้างขวา
3.       เคลื่อนตัวขึ้นลง
4.       เคลื่อนไหวรอบทิศ

รูปแบบการเคลื่อนไหว

1.       เคลื่อนไหวพื้นฐานได้แก่ การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของเด็กมี 2 ประเภท
1.1   เคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ ตบมือ ผงกศีรษะ  ขยิบตา ชันเขา เคาะเท้า เคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้ว เท้าและปลายเท้า
1.2   การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  ได้แก่  คลาน คืบ เดิน วิ่ง  กระโดด ควบม้า
ก้าวกระโดด
2.       การเลียนแบบมี 4 ประเภท
2.1 เลียบแบบท่าทางสัตว์
2.2 เลียบแบบท่าทางคน
2.3 เลียนแบบเครื่องยนต์กลไกล และ เครื่องเล่น
2.4 เลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติ
3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางประกอบเพลง เช่น เพลง ข.ไข่ หรือเพลงตามสมัยนิยม เป็นต้น
4. การทำท่าทางกายบริหารประกอบเพลง ได้แก่  การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและประกอบเพลง หรือคำคล้องจ้อง
5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ ท่าทางขึ้นเองอาจชี้นำโดยการป้อนคำถามเคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ห่วงยาง แถบผ้า บัตรคำ ริบบิ้น ฯลฯ
6. การเล่นหรือการทำท่าทางตามคำบรรยาย เรื่องราว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยายที่ผู้สอนเล่า
7. การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทาง ตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม
8. การฝึกท่าทางเป็นผู้นำ ผู้ตามได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเองแล้วให้เพื่อนปฏิบัติตามกิจกรรม

ข้อเสนอแนะ
1. ควรเริ่มกิจกรรมจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ และมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่นให้เด็กได้กระจายกันอยู่ในห้องหรือบริเวรที่ฝึก และให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของเด็ก
2. ควรให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระ และเป็นไปตามความคิดของเด็กเองผู้สอนไม่ควรชี้แนะ
3. ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้องเคลื่อนที่ เป็นรายบุคคล และเป็นคู่ เป็นกลุ่มไม่ควรเกิน 5-6 คน
4. ควรใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเศษวัสดุต่างๆเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์ เศษผ้า ท่อนไม้ เข้ามาช่วยในการเคลื่อนไหว และให้จังหวะ
5. ควรกำหนดจังหวะสัญญาณนัดหมายในการเคลื่อนไหวต่างๆ หรือเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดให้เด็กทราบเมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง
6. ควรสร้างกิจกรรมอย่างอิสระ ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น เพลิดเพลิน และรู้สึกสบาย และสนุกสนาน
7. ควรจัดให้มีการเล่นบ้างนานๆครั้ง เพื่อชวยให้เด็กสนใจมากขึ้น
8. กรณีเด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สอนไม่ควรใช้วิธีบังคับ ควรให้เวลาและโน้มน้าวให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตามสมัครใจ
9. หลังจากเด็กได้ร่วมออกกำลังเคลื่อนไหวจังหวะต้องให้เด็กพักผ่อนโดยให้นอนเล่นบนพื้นห้อง นอนพัก หรือเล่นสมมติเป็นจังหวะช้าๆ เบาๆ สร้างความรู้สึกให้เด็กอยากพักผ่อน
10. การจัดกิจกรรมควรจัดตามกำหนดตารางกิจกรรมประจำวัน และควรจัดให้เป็นที่น่าสนใจ เกิดความสนุกสนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น